วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวน่า่สนใจบนเขาค้อ

1.พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษกตั้งอยู่บริเวณบนยอดเขาค้อ ติดกับสำนักสงฆ์วิชมัยบุญญาราม อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ยอดเจดีย์ บรรจุุพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกา ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยส่วนราชการ พลเรือน และประชาชนชาวไทย ได้ร่วมจัดสร้างน้อมเกล้าถวาย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 และเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน วโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน และทรงประกอบพิธีีเปิด เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 หากใครได้มาเที่ยวเขาค้อควรแวะสักการะพระพุทธรูปภายใน เพื่อเป็นสิริมงคลแต่่ตัวเองและครอบครัว ตีระฆังที่เป็นราวแนวยาว บริเวณด้านข้าง พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก อายุจะยืนยาวอีกหลายปี (ต้องตีให้ครบทุกใบ)

2.ฐานอิทธิ (พิพิธภัณฑ์อาวุธ) เป็นจุดหนึ่งที่มองเห็นทิวทัศน์ เป็นฐานสำคัญฐานหนึ่งในการเข้ายึดพื้นที่ ปัจจุบันทางการได้จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธเปิดให้คนได้เข้าชมทุกวัน โดยการนำอาวุธปืนใหญ่ ซากรถถัง และอาวุธที่ใช้สู้รบในการรบที่บนเขาค้อมากมาย รวมทั้งการจัดห้องบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะด้วย คิดค่าชมคนละ10 บาท การเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2196เลยกม. 28 ไปเล็กน้อย แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2323 ไปประมาณ 3 กม. รวมระยะทางประมาณ 31 กม.

3.พระบรมสารีริกธาตเขาค้อเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ที่ได้อัญเชิญมาจาก ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2536 สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาส ทรงครองราชย์ 50ปี และเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน ตลอดนักท่องเที่ยว ในวันสำคัญทางศาสนาจะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมกัน ประกอบพิธี ทางศาสนาเป็นประจำ เช่น พิธีเวียนเทียน มีหลวงพ่อทบขนาดเท่าของจริงเกจิอาจารย์ ที่นับถือของชาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ประดิษฐานใกล้กับเจดีย์ บริเวณโดยรอบพระบรมสารีริกธาตุยังเต็มไปด้วยดอกไม้ และพืช้เมืองหนาว นา นา พันธุ์ สวยงามยิ่งนัก



4.อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อบนยอดสูงสุดของเขาค้อ สร้างขึ้นเพื่อเทอดทูนวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511-2525 โดยสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นหินอ่อนทั้งหมด หมายถึงการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ฐานอนุสรณ์กว้าง 11 เมตร หมายถึง ปี พ.ศ.2511 อันเป็นปีที่เริ่มปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์(ผกค.) ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถานสูง 24 เมตร หมายถึง ปี พ.ศ.2524 อันเป็นปีที่เริ่มยุทธการครั้งใหญ่ ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตร หมายถึง ปี พ.ศ.2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการรบ ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึง ปี พ.ศ.2526 ซึ่งเป็นปีที่สร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ ผนังภายในบันทึกประวัติอนุสรณ์ผู้เสียสละ และรายชื่อวีรชนผู้เสียสละชีวิตเพื่อ